by FH | Jul 27, 2023 | မြန်မာဘာသာ Myanmar language , ភាសាខ្មែរ Khmer , हिन्दी Hindi , বাংলা Bengali , ภาษาไทย Thai , Bahasa Indonesia , Urdu اُردُو , 日本語 Japanese , اردو Urdu
سٹاربکس امریکا میں سٹاربکس میں منظم نوجوان کارکنوں پر ایک منظم حملے میں مصروف ہے۔ ورکرز کو محض یونینز بنانے اور ان میں شامل ہونے کے اپنے عالمی انسانی حق کو استعمال کرنے کے لیے تشدد، ایذا رسانی اور غیر منصفانہ برطرفی کا سامنا کرنا پڑتا ہے۔
ئ۲۰۱۸ میں، نیسلے نے سٹاربکس کی برانڈڈ کافی مصنوعات کی تیاری اور فروخت کا حق حاصل کرنے کے لیے سٹاربکس کو سات اشاریہ پندرہ بلین یو ایس ڈالر ادا کیا۔اس میں” سٹاربکس کافی ایٹ ہوم”،اور پینے کے لیے تیار کین اور بوتل بند کافی شامل ہیں۔
نیسلےمیں یونینائزڈ ورکرز یہ قبول نہیں کر سکتے کہ ان کا آجر سٹاربکس جیسی یونین مخالف کمپنی کے ساتھ کاروبار کر رہا ہے۔ کارکنان کا کہناہے کہ نیسلے کے کارخانوں میں تیار کی جانے والی سٹاربکس کافی پروڈکٹس پورے کارپوریٹ کلچر کی نمائندگی کرتی ہیں جو کہ یونین ۔ مخالف ہے اور ” یہ ہمارا طریقہ کار نہیں ہے!” وہ سٹاربکس سے کارکنوں اور ٹریڈ یونین کے حقوق کا احترام کرنے کا مطالبہ کر رہے ہیں
انگریزی، جاپانی، ہندی، انڈونیشیائی، خمیر، تھائی، چینی (روایتی)، بنگالی، کورین اور اردو میں نیچے دیے گئے پلے کارڈز اور پوسٹرز دیکھیں۔
انگریزی
جاپانی
ہندی
انڈونیشیائی
خمیر
تھائی
چینی (روایتی)
بنگالی
کورین
اردو
by FH | Jul 27, 2023 | မြန်မာဘာသာ Myanmar language , ភាសាខ្មែរ Khmer , हिन्दी Hindi , বাংলা Bengali , ภาษาไทย Thai , Bahasa Indonesia , Urdu اُردُو , 日本語 Japanese
سٹاربکس امریکا میں سٹاربکس میں منظم نوجوان کارکنوں پر ایک منظم حملے میں مصروف ہے۔ ورکرز کو محض یونینز بنانے اور ان میں شامل ہونے کے اپنے عالمی انسانی حق کو استعمال کرنے کے لیے تشدد، ایذا رسانی اور غیر منصفانہ برطرفی کا سامنا کرنا پڑتا ہے۔ اس کے جواب میں، کارکنان پورے ایشیا پیسیفک کے خطے میں یہ مطالبہ کرنے کے لیے متحرک ہو رہے ہیں کہ سٹاربکس کارکنوں کے حقوق کا احترام کرے!
اس سلسلے میں انگریزی، جاپانی، خمیر، میانمار (برمی)، تھائی، انڈونیشیائی، ہندی، نیپالی، چینی (روایتی)، بنگالی، کورین اور اردو میں نیچے دیے گئے پلے کارڈز اور پوسٹرز دیکھیں۔
انگریزی
جاپانی
خمیر
میانمار (برمی)
تھائی
انڈونیشیائی
ہندی
نیپالی
چینی (روایتی)
بنگالی
کورین
اردو
by IUF Asia/Pacific | Jul 22, 2023 | မြန်မာဘာသာ Myanmar language , ភាសាខ្មែរ Khmer , हिन्दी Hindi , বাংলা Bengali , ภาษาไทย Thai , Bahasa Indonesia , Campaigns , Freedom of Association , 日本語 Japanese , اردو Urdu
Starbucks is engaged in a systematic, vicious attack on young workers organizing in Starbucks in the USA. Workers face victimization, harassment and unfair dismissal simply for exercising their universal human right to form and join unions. In response, workers are mobilizing across the Asia-Pacific region to demand that Starbucks respect workers’ rights!
See the placards and posters below in English, Japanese, Khmer, Myanmar (Burmese), Thai, Indonesian, Hindi, Nepali, Chinese (traditional), Bengali, Korean and Urdu.
English
Japanese 日本語
Khmer ភាសាខ្មែរ
Burmese ဗမာဘာသာစကား
Thai ภาษาไทย
Bahasa Indonesia
Hindi हिन्दी
Nepali नेपाली
Chinese [繁體字]
Bengali বাংলা
Korean 한국어
Urdu اردو
by IUF Asia/Pacific | Jul 22, 2023 | ភាសាខ្មែរ Khmer , हिन्दी Hindi , বাংলা Bengali , ภาษาไทย Thai , Bahasa Indonesia , Campaigns , Freedom of Association , 日本語 Japanese , اردو Urdu
Starbucks is engaged in a systematic, vicious attack on young workers organizing in Starbucks in the USA. Workers face victimization, harassment and unfair dismissal simply for exercising their universal human right to form and join unions.
In May 2018, Nestlé paid Starbucks US$7.15 billion for the right to manufacture and sell Starbucks branded coffee products. This includes “Starbucks Coffee At Home” and ready-to-drink canned and bottled coffee.
Unionized workers at Nestlé cannot accept that their employer is doing business with a viciously anti-union company like Starbucks. Workers are saying that Starbucks coffee products manufactured in Nestlé factories represent an entire corporate culture that is anti-union and “this is not out recipe!” They are calling on Starbucks to respect worker and trade union rights!
See the placards and posters below in English, Japanese, Hindi, Indonesian, Khmer, Thai, Chinese (traditional), Bengali, Korean and Urdu.
English
Japanese 日本語
Hindi हिन्दी
Bahasa Indonesia
Khmer ភាសាខ្មែរ
Thai ภาษาไทย
Chinese [繁體字]
Bengali বাংলা
Korean 한국어
Urdu اردو
by IUF Asia/Pacific | Jun 2, 2023 | ภาษาไทย Thai , Climate Crisis , Defending Democracy
ในอดีต กองทัพในหลายประเทศ ใช้วิกฤตทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน ยึดอำนาจและระงับประชาธิปไตย แต่ในปัจจุบัน กองทัพอาศัยวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในการอ้างเหตุผลเพื่อแทรกแซงทางทหารและจัดเตรียมกองกำลังติดอาวุธ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนำไปสู่เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น ทำให้เรามีโอกาสที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินบ่อยขึ้น ซึ่งนำไปสู่การประกาศสภาวะฉุกเฉินของกองทัพและการชะงักของของระบอบประชาธิปไตย ในหลายประเทศ ที่มีเหตุฉุกเฉินด้านสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การระงับประชาธิปไตยและสิทธิในระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตยและสิทธิในระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่จำเป็นจ้องใช้ในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการันตีความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พายุไซโคลนมอคค่า ซึ่งเป็นพายุโซนร้อนระดับที่ 5 ได้พัดถล่มชายฝั่งบังกลาเทศและพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศพม่า ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและสร้างความหายนะในวงกว้างในรัฐยะไข่ และเมืองหลวงซิตตเว
เป็นที่เข้าใจกันดีว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว อย่างพายุไซโคลนมอคค่าที่เกิดขึ้น มีความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจาก(มนุษย์) ซึ่งเรามักไม่เข้าใจบริบททางการเมืองของเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเหล่านี้ว่ามีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง ทั้งการสูญเสียชีวิต การทำลายล้าง และการพลัดถิ่น
เครือข่ายสันติภาพเพื่อผู้หญิง (Women’s Peace Network) ได้รายงานอย่างกล้าหาญถึงการปราบปรามอย่างโหดร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า โดยได้จัดการบรรยายสรุปเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม โดยประเมินผลกระทบของพายุไซโคลนมอคคาและสรุปวิธีที่รัฐบาลทหารอาศัยเหตุพายุไซโคลนในการปราบปรามประชาชนในทาง ดังจะเห็นได้จากในรายงานที่กล่าวว่า
รายงานเกี่ยวกับการตอบสนองของรัฐบาลทหารต่อพายุไซโคลนมอคค่าชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลทหารได้ทำลายความพยายามของชาวโรฮิงญาที่จะอพยพย้ายถิ่นฐาน [ภายในประเทศ] และได้ปิดกั้นการเข้าถึงความช่วยเหลือที่ส่งไปยังค่ายของพวกเขาและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งพ้องกันการกระทำของรัฐบาลทหารที่มุ่งส่งเสริมการแบ่งแยกสีผิวในรัฐยะไข่หลังการพยายามทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564
วิธีการที่กองทัพรับมือกับผลกระทบร้ายแรงของพายุไซโคลนมอคค่าต่อรัฐยะไข่และค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ
อาจะเรียกได้ว่าเป็น “การปล่อยเลยตามเลย” ซึ่งชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บังคับให้พลัดถิ่นฐานของชาวโรฮิงญา และเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำโดยกองทัพในปี 2560 ซึ่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติตัดสินว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นการบรรจบกันของความเปราะบางทางสภาพอากาศ และความเปราะบางของประชากรที่อาศัยอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร ความเปราะบางเหล่านี้ขยายใหญ่ขึ้นจากการประหัตประหารทางการเมืองอย่างเป็นระบบและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้คนเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องทนทุกข์กับการสูญเสียชีวิต บ้านเรือนถูกทำลาย การถูกกีดกันและการพลัดถิ่น แต่พวกเขายังถูกจำกัดไม่ให้มีการเตรียมตัวหรือร่วมกันเพื่อปกป้องชุมชนของตนเอง
เมื่อเกิดวิกฤตทางมนุษยธรรมหลังเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง อย่าง พายุไซโคลน เรามักจะเห็นองค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศแสดงเหตุผลความจำเป็นในการทำงานร่วมกับรัฐบาลทหาร หน่วยงานช่วยเหลือบางแห่งดูเหมือนจะเชื่อว่าระบอบเผด็จการรวมศูนย์เป็นกลไกการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ โดยละเลยความจริงที่ว่าระบอบเผด็จการนั้นเองที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล และขโมยทรัพยากรสาธารณะ รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และถ่ายโอนไปยังชนชั้นสูงและพวกพ้องที่มีอำนาจ โดยการขโมยทรัพยากรสาธารณะนี้เองที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ระบอบเผด็จการรวมศูนย์ดังกล่าวเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ระบอบเผด็จการยังมีอิทธิพลในการกำหนดวิกฤตด้านมนุษยธรรมและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กล่าวคือ ประชากรที่ถูกระบุว่าเป็นศัตรูกับรัฐและ/หรือกลุ่มชาติพันธุ์หรือศาสนาที่เฉพาะเจาะจงจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ดังที่เราเห็นในพม่าทุกวันนี้ สงครามของรัฐบาลทหารต่อประชากรพลเรือนขยายไปถึงการปฏิเสธความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เหตุผลนั้นไม่ซับซ้อน กล่าวคือ ในการเป็นเหยื่อจากวิกฤตด้านมนุษยธรรมและมีสิทธิ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนั้น จะต้องถูกมองว่าเป็นมนุษย์ก่อน
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา เราได้เห็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศ (ซึ่งมักมาจากการแทรกแซงของต่างประเทศ) ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับชาติหรือระดับย่อยของประเทศ (รัฐ ภูมิภาค จังหวัด) และมีการส่งกำลังทหารไปตามท้องถนน เมื่อทหารออกจากค่ายทหาร นายพลทหารและลูกๆ ของพวกเขาก็เข้าสู่ชีวิตทางการเมือง พลเรือน และเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าอำนาจของรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะได้รับการฟื้นฟูและเกิดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่กองทัพยังคงควบคุมพรรคการเมืองและรักษาฐานที่มั่นในทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นภาวะฉุกเฉินตลอดกาลสำหรับประชาชน
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ส่งผลให้เกิดการนิยาม “ความทนทานต่อสภาพอากาศ” (climate resilience) ใหม่ กล่าวคือ เราจะมีความทนทานทางสภาพอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบร่วมกันได้นั้น ก็ต่อเมื่อเราดำรงอยู่ในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่มีความเท่าเทียม และรับประกันว่าสุขภาพของมนุษย์ การดำรงชีวิต และสิ่งแวดล้อมได้รับการคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราเรียกร้องความทนทานต่อสภาพอากาศจากชนชั้นนำทางการเมือง ซึ่งมีแต่จะทำให้เราต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงต่อไป เพราะเราไม่มีกลไกประชาธิปไตยสำหรับการดำเนินการและความรับผิดชอบร่วมกัน และยังรวมถึงในบางกรณีอย่างชุมชนที่เปราะบางที่ไม่มีสิทธิในการย้ายถิ่นฐาน
ในหลายประเทศ ฝ่ายขวาสุดได้เปลี่ยนจาก การปฏิเสธสภาพภูมิอากาศเป็น ความตื่นตระหนกด้านสภาพอากาศ พวกเขาใช้โอกาสทางการเมืองดังกล่าวในการประกาศความล้มเหลวของรัฐในการช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ (โดยเฉพาะชุมชนในชนบทที่เปราะบางต่อสภาพอากาศ) การเผชิญกับวิกฤตครั้งใหม่นี้ ฝ่ายขวาสุดยังเน้นย้ำและเรียกร้องให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นคำที่ประชานิยมหมายถึงการปกครองแบบเผด็จการ เช่นเดียวกับภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามภายนอกต่อประเทศชาติ วิกฤตทางสภาพอากาศ โดยเหตุเหล่านี้เองที่จะถูกใช้โดยกลุ่มขวาจัดเพื่อสร้างความชอบธรรมในการระงับระบอบประชาธิปไตย
ในวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ อาจส่งผลให้เราต้องเผชิญกับสภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง ทั้งคลื่นความร้อน ไฟป่า ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า “การเด้งกลับทางสภาพภูมิอากาศ” (climate whiplash)จากเหตุการณ์รุนแรงหนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง (เช่น เกิดภัยแล้งตามด้วยน้ำท่วม หรือเกิดไฟป่าแล้วตามด้วยฝนตกหนัก) จะเกิดอะไรขึ้น หากสิ่งนี้นำไปสู่สภาวะฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องที่ระงับประชาธิปไตยโดยถาวร?
เขียนโดย ดร.มูฮัมหมัด ฮิดายัท กรีนฟิลด์ เลขาธิการ IUF ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
by IUF Asia/Pacific | May 9, 2023 | ภาษาไทย Thai , Human Rights , Social Justice
ไม่ใช่ทั้งงานบริการ และไม่ใช่การร่วมเพศ : การค้าประเวณีต้องหมดไป เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้ทำงานที่มีคุณค่า
แนวคิด “งานบริการทางเพศ” (sex work) นั้นไม่ไปด้วยกันไม่ได้กับแนวคิด “งานที่มีคุณค่า” (decent work)
งานที่มีคุณค่า ไม่ใช่แนวคิดที่ใช้อธิบายอย่างตัดสินต่องานในลักษณะต่างๆ อย่างแบ่งขั้ว เช่น งานที่ดี งานที่เลว งานที่เหมาะสม งานที่ไม่เหมาะสม
VIDEO
แนวคิดงานที่มีคุณค่าสร้างขึ้นเพื่อรวบรวมแนวทางและมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยทำให้คนทำงานเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้อย่างคลอบคลุม ทั้งในส่วนบุคคลและส่วนรวม นอกจากนี้แนวคิดงานที่มีคุณค่ายังหมายถึง เงื่อนไขพื้นฐานต่างๆ ที่จะทำให้แรงงานได้เข้าถึงสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ งานที่มีคุณค่าจึงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเงิน (อย่างค่าจ้าง รายได้) เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการที่แรงงานได้ทำงานที่เติมเต็มความต้องการของตนเองด้วย
จากคำกล่าวของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO): “… งานที่มีคุณค่าคือ การมีแรงบันดาลใจของผู้คนในชีวิตการทำงาน การได้รับโอกาสในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล การได้รับรายได้ที่เป็นธรรม และได้ทำงานในที่ที่ปลอดภัย การได้รับสวัสดิการสังคมเพื่อดูแลครอบครัว การได้รับโอกาสที่ดีในการพัฒนาตัวเอง และนำไปใช้กับสังคม แรงงานมีเสรีภาพในการแสดงความรู้สึกนึกคิดตนเอง อีกทั้งสามารถริเริ่มและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อแรงงานได้ ตลอดจนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม”
จากคำนิยามข้างต้น เราพบว่างานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานที่อันตราย ยาก หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยเพียงใด ก็สามารถกลายเป็นงานที่มีคุณค่าได้ แต่ “งานบริการทางเพศ” การแสวงหากำไรและผลประโยชน์ ไม่สามารถกลายเป็นงานที่มีคุณค่าได้ เพราะ สภาวะพื้นฐานที่ขับดันให้เกิด “งานบริการ” ดังกล่าวคือ ความยากจน หนี้สิน การขาดสวัสดิการสังคม ความไม่มั่นคง การถูกกีดกัน การพลัดถิ่นจากความขัดแย้งและสงคราม และการค้ามนุษย์ สภาวะเหล่านี้คือสิ่งที่บังคับให้ผู้หญิงค้าประเวณี ซึ่งถือเป็นการบีบบังคับไม่ใช่การตัดสินใจเลือก
“งานบริการทางเพศ” ไม่สามารถกลายเป็นงานที่มีคุณค่าได้ เพราะสิ่งที่เรียกว่า “อุตสาหกรรมบริการทางเพศ” ต้องพึ่งพาความเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคม และร่างกายของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง เพื่อสร้างผลกำไรในฐานะ “ธุรกิจ” ทั้งยังต้องหล่อเลี้ยงความเปราะบางนี้ไว้เพื่อรักษาและขยายทรัพยากรความเปราะบางนี้ เพื่อสร้างผลกำไรต่อไป
การทำให้ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคม และร่างกายของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงหมดไป จึงเป็นแกนกลางสำคัญของงานที่มีคุณค่า ที่จะหยุดยั้ง “อุตสาหกรรมทางเพศ” ได้
การโต้แย้งว่า การขายบริการทางเพศ คืองานรูปแบบหนึ่ง โดยอ้างว่าไม่ต่างจากงานขายบริการอื่นๆ ทั่วไป ที่เป็นการขายแรงงานเพื่อแลกค่าจ้าง ข้อเสนอนี้ตั้งอยู่บนมุมมองว่า กำลังการผลิตทั้งทางกายทางใจ (ซึ่งงานทุกงานก็ล้วนอาศัยกำลังการผลิตทั้งทางกาย และใจผสมกันไป) ล้วนนำไปสู่การผลิตสินค้า หรือ การบริการขึ้น อย่างไรก็ตาม การขายบริการทางเพศไม่สามารถเทียบได้เช่นนั้น เพราะการขายบริการทางเพศ คนทำงานไม่ได้ขายแรงงาน หรือขายกำลังการผลิตทางร่างกายหรือจิตใจออกไป แต่เป็นการขายตัวของเธอทั้งหมด เธอกลายเป็นสินค้า กลายเป็นสินค้าที่ถูกบริโภค ลักษณะนี้ทำให้การขายบริการทางเพศ ไม่ใช่งาน และเงื่อนไขจำเป็นพื้นฐานต่างๆ ที่คนทำงานพึงมีก็หายไปสิ้น
การค้าประเวณี (prostitution) กลายเป็นอุตสาหกรรมได้ จากการได้รับอนุญาต และได้รับการส่งเสริม เนื่องจากการค้าประเวณีสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล ทั้งที่ผลกำไรเหล่านี้มาจากการเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง ที่ไม่ได้มาเพื่อขายแรงงานแลกค่าจ้าง หรือการจ้างงาน แต่ผู้หญิงและเด็กหญิงถูกทำให้เป็นสินค้า ถูกทำให้เป็นผลผลิต ฉะนั้นอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงไม่ได้กำลังจ้างงาน แต่คือการค้าทาสภายใต้วิถีปฏิบัติแบบปิตาธิปไตย ที่ปฏิบัติต่อผู้หญิงเป็นเหมือนเป็นสินค้า เป็นเหมือนสินทรัพย์
ฉะนั้น ด้วยหลักการงานที่มีคุณค่า จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรับรองการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ของพวกเธอ เพราะงานเหล่านี้ปฏิบัติต่อพวกเธอเป็นสินค้า เมื่อไม่มีหลักการรับรองสิทธิของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จึงทำให้ธุรกิจเหล่านี้ดำรงอยู่ได้โดยละเมิดหลักการงานที่มีคุณค่า
การอ้างว่า “การขายบริการทางเพศ” มาจากการเลือกของผู้หญิงหรือเด็กหญิงนั้น ถือเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่พิจารณาเรื่องสภาวะบีบบังคับต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น รวมทั้งละเลยที่จะมองเห็นธุรกิจที่แสวงประโยชน์โดยเจตนาและเป็นระบบ จากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคม และร่างกายของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง อันเนื่องมาจากความยากจน หนี้สิน และการพลัดถิ่น สิ่งเหล่านี้คือการบีบบังคับ ไม่ใช่การเลือกโดยอิสระ
เมื่อหันกลับมาพิจารณาประเด็นแรงงานทาสยุคใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมงที่ชาวประมงได้รับการช่วยเหลือจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน ผมไม่เคยได้ยินรัฐบาล บริษัท สหภาพแรงงานหรือ เอ็นจีโอ ไหนอ้างว่าคนเหล่านี้เลือกอยู่บนเรือลำนั้นเอง แต่มองว่าผู้คนเหล่านี้ไม่มีทางเลือก และถูกทารุณอย่างเลวร้ายและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แล้วเหตุใดเมื่อเป็นกรณีของการค้าประเวณี องค์กรเหล่านี้กลับมาบอกว่าผู้หญิงที่ถูกกดขี่เหล่านี้ตัดสินใจเลือกเอง ความโกรธเกรี้ยวต่อความโหดร้ายทารุณและการปฏิบัติอย่างลดทอนต่อมนุษย์ของพวกเขาหายไปไหนหมด
ทางเดียวที่จะพิจารณาว่า การขายบริการมาจากการเลือกอย่างอิสระ คือต้องกำจัดสภาวะบีบบังคับให้หมดไป สภาวะบีบบังคับ ที่หมายถึง ความยากจน หนี้สิน การพลัดถิ่น การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และความเปราะบางของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่นำไปสู่การค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน และสร้างสวัสดิการสังคมสำหรับทุกคน ทั้งในเรื่องของสุขภาพสำหรับทุกคน ไม่มีหนี้สิน เราต้องสร้างสวัสดิการคุ้มครองทางสังคมอย่างรอบด้านตามที่เลขาธิการสหประชาชาติเรียกร้องเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และขจัดความยากจน เราต้องสร้างงาน ประกันค่าครองชีพ และรับประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนสากลในด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา อาหารและโภชนาการตามที่รับรองไว้ในปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อถึงตอนนั้นแล้วจึงจะพูดได้ว่า การขายบริการทางเพศเป็นงานที่พวกเธอเลือกเอง
อย่างไรก็ตามเราห่างไกลจากสังคมเช่นนั้น เรายังเผชิญกับความยากจน หนี้สิน การย้ายถิ่นฐานในอีกทศวรรษข้างหน้า ซึ่งหมายความว่าจะมีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเปราะบางมากขึ้นอีก และเกิดการกดขี่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในการค้าประเวณีมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวทั่วโลกก็ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น รัฐบาล เจ้าของรีสอร์ท และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างให้คำมั่นสัญญาว่า “จะสร้างความเข้มแข็ง” ในอุตสาหรรมการท่องเที่ยว อาศัยการค้าประเวณีเป็นบริการให้ความบันเทิง เป็นสิ่งดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศมหาศาลให้แก่ประเทศ แต่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในอุตสาหกรรมเหล่านี้ยังคงยากจน ความยากจนเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมปรารถนาให้พวกเธอประสบ เพราะพวกเขาต้องแสวงหาผลกำไรจากตวามเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคมของพวกเธอ
ข้อ 23 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือสิทธิในการหารายได้ที่รับรองว่าการหารายได้ต้อง “ดำรงอยู่คู่กับการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการหารายได้ทำลายศักดิ์ศรีของคุณ ปฏิบัติต่อคุณราวกับสินค้าหรือทรัพย์สิน และพยายามพรากความเป็นมนุษย์ของคุณด้วย
ผู้ที่เคยผ่านชีวิตเช่นนั้นมา พวกเธอต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พวกเธอหลบหนีจากการค้ามนุษย์และการค้าประเวณี และช่วยเหลือผู้อื่นให้ทำหลบหนีออกจากวงจรเหล่านี้
การที่เรายังเรียกการค้าประเวณีว่าเป็น “งานบริการทางเพศ” (sex work) ย่อมถือเป็นดูหมิ่นการต่อสู้ดิ้นรนที่กล้าหาญและกังขาในความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเราเอง